การเสวนา “เจาะรายงานเอ็นเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ 60 กมธ. ..คุ้มค่าจริงหรือ ?”


การเสวนา “เจาะรายงานเอ็นเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ 60 กมธ. ..คุ้มค่าจริงหรือ ?”
วันที่โพสต์ : 2022-08-02

• ความเป็นมา
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ได้พิจารณาญัตติด่วนเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex) เพื่อหาแหล่งรายได้ใหม่จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศ โดยมี ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเสนอญัตติเรื่องพนันรวม 12 ฉบับ ทั้งหมดมีเนื้อหาในทางเดียวกัน คือเสนอให้ตั้งบ่อนกาสิโนถูกกฎหมาย และให้มีบริการพนันออนไลน์ถูกกฎหมาย รวมถึงการเสนอให้การพนันอื่น ๆ ได้รับอนุญาตได้ง่ายขึ้น จึงนามาพิจารณาพร้อมกัน ทั้งนี้ มีส.ส.จานวนหนึ่งอภิปรายให้คานึงถึงผลกระทบด้วย นาไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex) การจัดเก็บรายได้และภาษีจากธุรกิจกาสิโนถูกกฎหมาย และมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาบ่อนการพนันผิดกฎหมาย การแพร่ระบาดของตู้เกมไฟฟ้าและการพนันออนไลน์ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 จานวน 60 คน มีนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ (กมธ.) โดยกาหนดระยะเวลาในการพิจารณาศึกษา 90 วัน และได้ขอขยายระยะเวลาอีก 2 ครั้ง จานวน 90 วัน และ 60 วัน ตามลาดับ รวมระยะเวลาในการพิจารณาศึกษา 240 วัน เริ่มประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้แถลงข่าวผลการดาเนินงานเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ระบุว่า


1. ได้มีการประชุมพิจารณาศึกษา จานวน 23 ครั้ง
2. มีมติตั้งคณะอนุกรรมาธิการ 4 คณะ* เพื่อพิจารณาศึกษาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตั้งคณะทางานจัดทารายงานฯ 1 คณะ
3. ได้เดินทางไปศึกษาดูงานและจัดสัมมนาในพื้นที่ต่าง ๆ 3 ครั้ง ได้แก่ อาเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 11-12 มิถุนายน 2565, จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 25-26 มิถุนายน 2565 และจังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2565 โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้อง คือ
1) ประเด็นด้านความมั่นคงและมาตรการในการป้องกันพนันผิดกฎหมายในภาพรวม และด้านการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวทางการควบคุมการบริหารจัดการการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex)
2) ประเด็นด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการจัดเก็บรายได้และภาษีจากการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex)
3) ประเด็นด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ความคุ้มค่าในการลงทุน และความเหมาะสมเกี่ยวกับสถานที่และภูมิศาสตร์ในการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex)
4) ประเด็นด้านมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบเชิงวัฒนธรรมจากการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex)
5) ประเด็นด้านความคุ้มค่าในการลงทุน รูปแบบการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertain ment Complex) และรูปแบบธุรกิจ Gaming ที่เหมาะสม ทั้ง Online และ Offline เพื่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจของประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังมีผลสารวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex) จากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกในภูมิภาคต่าง ๆ พบว่าเห็นด้วยร้อยละ 80.67 ซึ่งนาไปใช้ประกอบการจัดทารายงานด้วย
4. จะมีการพิจารณาลงมติเห็นชอบกับรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ฉบับสมบูรณ์ ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 และภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 จะนาเสนอรายงานพร้อมข้อสังเกต กราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อโปรดนาเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป


*หมายเหตุ - ในการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ได้มีมติร่วมกันตั้งคณะอนุกรรมาธิการ 5 คณะ ได้แก่
1. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษากฎหมาย การจัดเก็บรายได้ และภาษีจากการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex)
2. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาพื้นที่ความเป็นไปได้และหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการเปิดสถาน
บันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex)
3. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการลงทุนและรูปแบบการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex)
4. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษารูปแบบธุรกิจ Gaming
5. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการเปิดสถาน บันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex)
แต่ในการประชุมครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 มีมติร่วมกันตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพียง 4 คณะ โดยให้นาเรื่องการพิจารณาศึกษาการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ หรือคณะอนุกรรมาธิการชุดที่ 5 ไปรวมกับคณะอนุกรรมาธิการชุดที่ 2 เป็น “คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการป้องกัน แก้ไขปัญหาผลกระทบ และศึกษาพื้นที่ความเป็นไปได้และหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex)
ทั้งนี้ เครือข่ายภาคีที่ขับเคลื่อนรณรงค์ลดปัญหาและผลกระทบจากการพนันมีข้อห่วงใยต่อรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ในหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดูแลปกป้องเด็กและเยาวชน จึงเห็นว่าควรจัดเวทีเสวนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อจัดทาข้อเสนอในการศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบและรอบด้าน ครบถ้วนในทุกมิติ


• วัตถุประสงค์
เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อนาเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและ/หรือ หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาทบทวนผลการศึกษาการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex) รวมถึงการหารายได้จากธุรกิจกาสิโนถูกกฎหมาย การพนันในรูปแบบต่าง ๆ และการพนันออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางสาหรับเล่นการพนันทุกประเภท


• กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม (จานวนรวมประมาณ 50 คน)
1. สื่อมวลชน
2. เครือข่ายเยาวชน
3. ผู้แทนจากคณะทางานเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาการพนันออนไลน์ในเด็กและเยาวชน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
4. เครือข่ายภาคีต่าง ๆ อาทิ เครือข่ายนักวิชาการ เครือข่ายครอบครัว เครือข่ายชุมชน เครือข่ายผู้ใช้แรงงาน เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการพนัน เป็นต้น

• ผู้จัด
1. โครงการเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม
ภายใต้สานักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม
สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
2. มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน
3. มูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ

 

...